บทที่12 จริยธรรม มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ตและความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์

สรุปบทที่12

จริยธรรม มารยาทในการใช้อินเตอร์เน็ตและความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์


เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีกลไกที่ก่อเกิดพฤติกรรมเสมือนสังคมแห่งความเป็นจริงสังคมหนึ่ง เพียงแต่ในบางครั้งผู้ใช้อาจไม่แสดงตัวตน บทบาท หรือปฏิบัติตามแบบแผนทางสังคมอย่างเช่นที่ตนได้ ปฏิบัติอยู่ ดังนั้น การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงประกอบไปด้วยกลุ่มบุคคลที่ซื่อสัตย์ทั้งต่อตัวเอง และต่อผู้อื่น และกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมในทางตรงกันข้าม ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหลาย ทั้งผู้ใช้งานที่เพิ่งเริ่มรู้จักสังคมอินเทอร์เน็ตและผู้ใช้งานที่มี ประสบการณ์สูง ควรมีแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันรักษาตนเองและสังคมแห่งนี้ ให้เป็นสังคมที่ประกอบด้วย กิจกรรมที่สร้างสรรค์มากกว่าทำลาย ตลอดจนเป็นสังคมแห่งการกระจายข้อมูลข่าวสาร ความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการสร้างเสริมปัญญาให้กับมนุษย์สืบไป

ข้อพึงปฏิบัติและมารยาทในอินเตอร์เน็ต 
1. ในการใช้งานครั้งแรก ควรสอบถามผู้ดูแลระบบถึงข้อกำหนด และระเบียบในการใช้เครือข่ายนั้น ๆ และปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านั้น
2. ใช้งานเท่าที่จำเป็น
3. ไม่ควรเข้าใช้อินเตอร์เน็ตในบัญชีของผู้อื่น หรือยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีของตนในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
4. ควรรักษารหัสผ่านของตนไว้เป็นความลับ
5. ในกรณีที่ต้องทำงานที่ใช้เวลามาก เช่น การโอนย้ายข้อมูล การดาวน์โหลดโปรแกรม ฯลฯ ควรเลือกทำในช่วงที่ไม่ค่อยมีผู้ใช้มากนัก
6. ควรเปิดจดหมายอ่านเป็นประจำ และลบจดหมายที่ไม่ต้องการออก
7. ไม่ควรส่งข้อมูลที่เป็นความลับมาทางจดหมาย และไม่ควรใช้ข้อความที่ก้าวร้าวหรือหยาบคาย
8. ไม่ควรส่งจดหมายที่มีขนาดใหญ่
9. ไม่ควรเขียนจดหมายด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ล้วน ๆ เพราะทำให้อ่านยากและตาลายได้ 

จริยธรรม
จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
มารยาทกับจริยธรรมนั้นต่างกัน
มารยาทคือ การปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยจิตใจที่ดี เพื่อให้เกิดความสุข
จริยธรรมคือ หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

จริยธรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 
          1. ความเป็นส่วนตัว ( Privacy ) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วน ตัวของปัจเจกชน
          2. ความถูกต้องแม่นยำ ( Accuracy )ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวม และวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
          3. ความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
          4. ความเข้าถึงได้ ( Accessibility )คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และ การจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ “ผิดกฎหมายหรือเปล่า ถ้าผิด กฎหมายแล้วค่อยมาว่ากัน”

ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวในระบบคอมพิวเตอร์ 
          ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ใครๆ ก็สามารถเชื่อมต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่อยู่คนละสถานที่กัน ให้ติดต่อกันได้ ดังนั้นความปลอดภัย (Security) ของข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ที่ควรคำนึงถึง เพราะว่าไฟล์ข้อมูลจำนวนมาก ที่จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการดูแล ให้ปลอดภัย จากการถูกทำลาย ความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ขโมยหรือแม้แต่การจารกรรม อันเนื่องมาจาก การสื่อสารที่เข้าถึงกันได้อย่างสะดวกและง่ายดาย

ความปลอดภัย 
          ความปลอดภัย (Security) เป็นระบบป้องกันที่ถูกออกแบบ เพื่อปกป้องระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลจากความเสียหาย ทั้งโดยเจตนาหรือโดยบังเอิญ หรือจากการเข้าใช้ระบบโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต การระบุตัวผู้ใช้ระบบและการเข้าถึงข้อมูล โดยอาศัยวิธีการระบุตัวผู้ใช้ระบบและการเข้าถึงข้อมูล 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
          1. สิ่งที่คุณมี (What you have?)
          2. สิ่งที่คุณรู้ (What you know?)
          3. สิ่งที่คุณทำ (What you do?)
          4. สิ่งที่คุณเป็น (What you are?) 

กฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศไทย 
นโยบายการให้ความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ของประเทศไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
         1. เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์อันชอบธรรมของผู้สร้างสรรค์
         2. เพื่อกระตุ้นให้มีการสื่อสารหรือถ่ายทอดความคิด ความรู้ และข้อมูลในสังคมมากที่สุด
         3. เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์หรือ กติกาในการแสวงหาประโยชน์ ทางเศรษฐกิจการค้า จาก ผลงานสร้างสรรค์ด้านลิขสิทธิ์ทั้งในระดับ ภายในประเทศและระหว่างประเทศ
         4. เพื่อส่งเสริมและรักษาผลงานสร้างสรรค์อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ      

การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล 
         1. การรักษาความปลอดภัยของขยะข้อมูล (Secured Waste)
         2. การควบคุมในระบบคอมพิวเตอร์ (Internal Controls)
         3. การตรวจสอบ (Auditor Checks)
         4. การตรวจสอบประวัติผู้สมัครงาน (Applicant Screening)
         5. การใช้รหัสผ่าน (Passwords)
         6. ตัวป้องกันในซอฟต์แวร์ (Built-in Software Protection)

จรรณยาบรรณของ "ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต" 
         1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
         2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
         3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในไฟล์ของผู้อื่น
         4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
         5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
         6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
         7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
         8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
         9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
        10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สรุปบทที่8 ระบบสารสนเทศสำนักงาน

บทที่ 11 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

แบบทดสอบบทที่ 1-12